หลักจรรยาบรรณสากลของมูลนิธิวิกิมีเดีย

From Wikimedia Foundation Governance Wiki
The printable version is no longer supported and may have rendering errors. Please update your browser bookmarks and please use the default browser print function instead.
This page is a translated version of the page Policy:Universal Code of Conduct and the translation is 100% complete.
จรรยาบรรณสากล

เพราะเหตุใดเราจึงมีจรรณยาบรรณสากล

เราเชื่อมั่นในการมอบอำนาจแก่ผู้คนจำนวนมากเท่าที่จะให้ได้ ในการทำให้โครงการวิกิมีเดียและพื้นที่อื่นของเรามีการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ให้บรรลุซึ่งพันธกิจของของเราที่ทุกคนสามารถแบ่งปันผลรวมแห่งองค์ความรู้ของมนุษย์ชาติทั้งปวง เราเชื่อว่าชุมชนของผู้มีส่วนร่วมควรมีความหลากหลาย รวมถึง และเข้าถึงได้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเราต้องการให้ชุมชนเหล่านี้เป็นสภาพแวดล้อมที่เป็นบวก ปลอดภัย และมีสุขภาพดีสำหรับทุกคนที่เข้าร่วม (หรือต้องการเข้าร่วม) ชุมชน เรามุ่งมั่นที่จะตรวจสอบให้แน่ใจว่ายังคงเป็นเช่นนั้น รวมถึงการปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณนี้และกลับมาทบทวนเพื่อปรับปรุงตามความจำเป็น อีกทั้งเรายังหวังว่านี่จะช่วยป้องกันโครงการของเราจากผู้ไม่หวังดีหรือผู้ที่สร้างความเสียหายแก่เนื้อหาอีกด้วย

ด้วยพันธกิจของวิกิมีเดีย ทุกคนที่มีส่วนร่วมในโครงการวิกิมีเดียและโครงการที่เกี่ยวข้องมากที่สุดโดยจะ:

  • ช่วยสร้างโลกซึ่งทุกคนสามารถแบ่งปันองค์ความรู้ของมนุษยชาติ
  • ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนทั่วโลกที่ไร้อคติและความเอนเอียง และ
  • ร่วมตรวจสอบความถูกต้องและร่วมตรวจสอบในงานของกันและกันทั้งหมด

จรรณยาบรรณสากล (UCoC) จะจำกัดความแนวปฏิบัติที่คาดหวังและที่ยอมรับไม่ได้ ซึ่งถูกนำไปใช้กับทุกบุคคลที่มีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมทั้งทางออนไลน์และในชีวิตจริงของโครงการวิกิมีเดียและพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมไปถึงประสบการณ์ในการมีส่วนร่วม หน้าที่ในโครงการ ผู้จัดกิจกรรมและผู้เข้าร่วม ลูกจ้างและคณะกรรมาธิการมูลนิธิวิกิมีเดีย และยังนำไปใช้กับทุกโครงการของวิกิมีเดีย ช่องทางด้านเทคนิค การพบกันในชีวิตจริงและการประขุมแบบเสมือน รวมไปถึง:

โดยสอดคล้องกับพันธกิจของวิกิมีเดีย ผู้ที่มีส่วนร่วมในโครงการและพื้นที่ของวิกีมีเดียต้อง:

  • ช่วยสร้างโลกที่ทุกคนสามารถแบ่งปันอย่างเสรีซึ่งผลรวมของความรู้ทั้งหมด
  • มีส่วนร่วมในชุมชนโลกที่หลีกเลี่ยงอคติและความเดียดฉันท์ และ
  • ต่อสู้เพื่อเพิ่มความเที่ยงตรงและการพิสูจน์ยืนยันได้ในงานทุกงาน

1 – บทนำ

จรรณยาบรรณสากลเป็นบทบัญญัติซึ่งบรรทัดฐานของพฤติกรรมของการมีส่วนร่วมร่วมกันในโครงการวิกิมีเดียของทั้งโลก ชุมชนอาจเพิ่มส่วนนี้เพื่อนำไปพัฒนานโยบายและบริบททางวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยให้เงื่อนไขดังระบุไว้ที่นี่เป็นมาตรฐานอย่างน้อยที่สุดที่ชุมชนพึงระบุในนโยบาย

จรรยาบรรณสากลจะถูกบังคับใช้อย่างเท่าเทียมในชาววิกิมีเดียทุกบุคคลโดยไม่มีข้อยกเว้น การกระทำใด ๆ ที่ขัดแย้งกับหลักจรรยาบรรณสากลนี้อาจส่งผลให้เกิดการลงโทษได้ (ดังที่กำหนดไว้ในบริบทท้องถิ่น) และ/หรือโดยมูลนิธิวิกิมีเดียในฐานะเจ้าของตามกฎหมายของแพลตฟอร์ม

2 – พฤติกรรมที่คาดหวัง

ชาววิกิมีเดียทุกคน ทั้งที่เป็นผู้ใช้ใหม่และมากประสบการณ์ ผู้ทำหน้าที่ในชุมชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือสมาชิกกรรมการบริหารมูลนิธิวิกิมีเดีย หรือลูกจ้าง ย่อมรับผิดชอบต่อการกระทำของตน

พฤติกรรมในโครงการ พื้นที่และงานทั้งหมดของวิกิมีเดียจักตั้งอยู่บนความเคารพ ความมีอารยะ ความเป็นผู้ร่วมงาน ความเป็นหนึ่งเดียวกัน และความเป็นพลเมืองดี ทั้งนี้ ใช้แก่ผู้มีส่วนร่วมและผู้เข้าร่วมทุกคนในปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนร่วมและผู้เข้าร่วมทุกคน โดยไม่มีการแบ่งอายุ ทุพพลภาพทางกายหรือจิต รูปลักษณ์ สัญชาติ ศาสนา ชาติพันธ์ และภูมิหลังทางวัฒนธรรมหรือวรรณะ ชนชั้นทางสังคม ความสามารถทางภาษา รสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ เพศ หรือสาขาวิชาชีพ อีกทั้งจะไม่มีการยกเว้นตามสถานะทักษะหรือแม้ความสำเร็จในโครงการหรือขบวนการวิกิมีเดีย

2.1 – ความเคารพซึ่งกันและกัน

เราคาดหวังให้ชาววิกิมีเดียมีความเคารพต่อผู้อื่น ในการสื่อสารกับผู้คน ไม่ว่าในสภาพแวดล้อมออนไลน์หรือออฟไลน์บนวิกิมีเดีย เราจะปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน

ตัวอย่างเช่น:

  • ใช้ความเห็นอกเห็นใจ รับฟังและพยายามทำความเข้าใจสิ่งที่ชาววิกิมีเดียที่มาจากภูมิหลังต่าง ๆ ต้องการกล่าวแก่คุณ พึงพร้อมท้าทายและปรับความเข้าใจ ความคาดหวัง และพฤติกรรมของคุณเองในฐานะชาววิกิมีเดีย
  • สันนิษฐานว่าผู้อื่นสุจริตใจ และเข้าร่วมการแก้ไขเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์ การมีส่วนร่วมของคุณควรปรับปรุงคุณภาพของโครงการหรืองาน ให้และรับข้อเสนอแนะอย่างสุภาพและสุจริตใจ การวิพากษ์วิจารณ์ควรแสดงในลักษณะที่ละเอียดอ่อนและสร้างสรรค์ ชาววิกิมีเดียทั้งหมดควรสันนิษฐาน (เว้นแต่มีข้อโต้แย้งที่เหมาะสม) ว่าผู้อื่นได้เข้ามีส่วนร่วมเพื่อปรับปรุงโครงการ แต่มิควรนำมาใช้เพื่อพิสูจน์ถ้อยแถลงที่มีผลกระทบที่เป็นอันตราย
  • เคารพการเรียกชื่อและการอธิบายตนเองของผู้เข้ามีส่วนร่วม บุคคลอาจใช้คำใดคำหนึ่งเพื่อเรียกตนเอง เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของความเคารพ ให้ใช้คำเหล่านั้นในการสื่อสารเกี่ยวกับหรือกับบุคคลเหล่านั้น เท่าที่ความสามารถทางภาษาและเทคนิคจะอำนวยได้ เช่น:
    • กลุ่มชาติพันธุ์อาจใช้คำที่เฉพาะเจาะจงคำใดคำหนึ่งเรียกตน นอกเหนือไปจากชื่อที่ถูกผู้อื่นใช้เรียกตามประวัติศาสตร์
    • บุคคลอาจใช้ชื่ออันมีอักขระ เสียง หรือคำอื่นจากภาษาของตนที่คุณอาจไม่คุ้นเคย
    • บุคคลที่ระบุรสนิยมทางเพศ เพศสภาพ หรืออัตลักษณ์ทางเพศของตนโดยใช้ชื่อหรือสรรพนามเฉพาะ
    • บุคคลที่ระบุว่ามีทุพพลภาพทางกายหรือทางจิตบางอย่างอาจใช้คำเฉพาะเพื่อเรียกตนเอง
  • ในระหว่างการพบปะในชีวิตจริง เราจะต้อนรับทุกบุคคลและจะมีสติและเคารพในความชอบส่วนบุคคล ขอบเขต ความอ่อนไหว และข้อกำหนดของกันและกัน

2.2 – ความมีอารยะ การสนับสนุนกันและกัน ความเป็นหนึ่งเดียวกัน และความเป็นพลเมืองดี

เรามุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามพฤติกรรมต่อไปนี้:

  • ความมีอารยะเป็นมาตรฐานความสุภาพระดับสูงในพฤติกรรมและคำพูดในหมู่บุคคล รวมทั้งบุคคลแปลกหน้า
  • ความเป็นผู้ร่วมงานคือการสนับสนุนฉันท์มิตรซึ่งบุคคลที่ร่วมแรงในความพยายามเดียวกันมอบให้แก่กัน
  • การสนับสนุกันและกันและความเป็นพลเมืองดีหมายความว่าการมีความรับผิดชอบในการรับรองว่าโครงการวิกิมีเดียเป็นสถานที่ที่ก่อผลดี น่าพึงพอใจ และปลอดภัยในการอยู่และการร่วมสนับสนุนพันธกิจของวิกิมีเดีย

ตัวอย่างเช่น

  • ระบบพี่เลี้ยงและโค้ช: ช่วยเหลือผู้มาใหม่ให้ทราบวิธีการและได้รับทักษะที่จำเป็น
  • แสดงความเป็นหนึ่งเดียวกัน: สอดส่องผู้มีส่วนร่วมอื่น ให้ความช่วยเหลือเมื่อต้องการ และออกตัวให้เมื่อผู้อื่นได้รับการปฏิบัติซึ่งด้อยกว่ามาตรฐานพฤติกรรมดังที่ได้ระบุไว้ในจรรณยาบรรณนี้
  • รับรองและให้ความชอบในงานที่ผู้มีส่วนร่วมอื่นทำ: ขอบคุณผู้อื่นที่หยิบยื่นความช่วยเหลือ ชื่นชมความพยายามของเขา และให้ความชอบตามที่สมควร

3 – พฤติกรรมที่ยอมรับไม่ได้

จรรยาบรรณสากลนี้มุ่งช่วยเหลือสมาชิกชุมชนให้ยืนยันสถานการณ์ของพฤติกรรมที่มิชอบและการรังควาน พฤติกรรมดังต่อไปนี้ถือว่ายอมรับไม่ได้ในขบวนการวิกิมีเดีย:

3.1 – การรังควาน

หมายรวมถึงพฤติกรรมใด ๆ ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อที่เจตนาเป็นหลักเพื่อรังควาน สร้างความโกรธเกรี้ยว หรือความไม่สบายใจแก่บุคคลหนึ่ง หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ส่งผลให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้น

พฤติกรรมอาจถือได้ว่าเป็นการรังควานหากอยู่นอกเหนือจากที่บุคคลที่มีเหตุผลคาดว่าจะยอมรับได้ในสถานที่ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน

การรังควานมักอยู่ในรูปการล่วงเกินทางอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่อยู่ในฐานะเปราะบาง และอาจรวมถึงการติดต่อสถานที่ทำงานหรือเพื่อนและสมาชิกในครอบครัวเพื่อข่มขู่หรือทำให้อับอาย

ในบางกรณี พฤติกรรมอาจไม่ถือว่าเป็นการรังควานหากทำเพียงไม่กี่ครั้ง แต่การทำพฤติกรรมนั้น ๆ ซ้ำไปมาอาจนับเป็นการรังควานได้

ตัวอย่างเช่น:

  • การดูหมิ่น: ได้แก่ การล้อชื่อ รวมทั้งคำหยาบหรือคำเหมารวม และการโจมตีลักษณะส่วนบุคคล การดูหมิ่นอาจรวมถึงลักษณะที่รับรู้ก็ได้ เช่น สติปัญญา รูปลักษณ์ ชาติพันธุ์ เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม วรรณะ รสนิยมทางเพศ เพศ ทุพพลภาพ อายุ เชื้อชาติ การมีส่วนร่วมทางการเมืองหรือลักษณะอื่น ในบางกรณี การล้อเลียนเสียดสี หรือความก้าวร้าวซ้ำ ๆ อาจถือรวมกันเป็นการดูหมิ่นได้ แม้กรณีเดียวอาจยังไม่เข้าข่าย
  • การล่วงละเมิดทางเพศ: ความสนใจทางเพศหรือการล่วงเกินใด ๆ ต่อผู้อื่น ซึ่งบุคคลนั้นรู้หรือมีเหตุผลควรรู้ว่าการให้ความสนใจนั้นไม่พึงปรารถนาหรือในสถานการณ์ที่ไม่สามารถสื่อสารความยินยอมได้
  • การข่มขู่: ชี้นำอย่างชัดเจนหรือโดยปริยายถึงความเป็นไปได้ของความรุนแรงทางร่างกาย ความอับอายที่ไม่เป็นธรรม ความเสียหายต่อชื่อเสียงที่ไม่เป็นธรรมและไม่ยุติธรรม หรือการข่มขู่โดยการแนะนำการดำเนินการทางกฎหมายที่ไร้เหตุผลเพื่อชนะข้อโต้แย้งหรือบังคับให้ใครบางคนประพฤติตามที่คุณต้องการ
  • ส่งเสริมให้ผู้อื่นทำร้าย: ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนให้ผู้อื่นทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้อื่นโจมตีบุคคลที่สามอย่างรุนแรง
  • การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Doxing): การแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวของผู้ร่วมให้ข้อมูลคนอื่น เช่น ชื่อ สถานที่ทำงาน ที่อยู่ทางกายภาพหรืออีเมล โดยไม่ได้รับความยินยอมอย่างชัดแจ้งในโครงการ Wikimedia หรือที่อื่น ๆ หรือการแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพวกเขา กิจกรรมของวิกิมีเดียภายนอกโครงการ (สำหรับประเทศไทยปัจจุบันบังคับใช้กฏหมาย PDPA)
  • การสร้างความรำคาญ: ติดตามบุคคลทั่วทั้งโครงการและวิจารณ์งานของพวกเขาซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยมีเจตนาที่จะทำให้ไม่พอใจหรือหมดกำลังใจ หากปัญหายังคงดำเนินต่อไปหลังจากพยายามสื่อสารและให้ความรู้ ชุมชนอาจจำเป็นต้องจัดการกับปัญหาเหล่านั้นผ่านกระบวนการชุมชนที่จัดตั้งขึ้น
  • การยั่วยุ: จงใจรบกวนการสนทนาหรือโพสต์โดยไม่สุจริตเพื่อยั่วยุโดยเจตนา

3.2 – การใช้อำนาจ, เอกสิทธิ์, หรืออิทธิพลในทางที่ผิด

การละเมิดเกิดเมือบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจ เอกสิทธิ์หรืออิทธิพลทั้งที่เป็นจริงหรือที่ผู้อื่นรับรู้ มีพฤติกรรมไม่เคารพ โหดร้าย และ/หรือ รุนแรงต่อผู้อื่น ในสิ่งแวดล้อมวิกิมีเดียนั้น อาจเกิดขึ้นในรูปแบบของการทำร้ายทางคำพูดหรือจิตใจ และอาจทับซ้อนกับการรังควานได้

  • *การละเมิดในตำแหน่งหน้าที่โดยผู้มีตำแหน่งหน้าที่ กรรมการ และพนักงาน: การใช้อำนาจหน้าที่ ความรู้ หรือทรัพยากรในการกำจัดผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิวิกิมีเดียหรือบริษัทในเครือวิกิมีเดีย เพื่อข่มขู่หรือคุกคามผู้อื่น
  • *การละเมิดโดยใช้ความอาวุโสและสายสัมพันธ์: ใช้ตำแหน่งและชื่อเสียงของตนในการข่มขู่ผู้อื่น เราขอให้บุคคลที่มีประสบการณ์และสายสัมพันธ์มากในขบวนการประพฤติตนโดยใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะความเห็นเชิงปรปักษ์อาจส่อความโดยมิได้ตั้งใจว่าสร้างภัยคุกคาม ผู้ที่มีอำนาจชุมชนมีสิทธิ์พิเศษที่จะถูกมองว่าเชื่อถือได้และไม่ควรใช้สิ่งนี้ในทางที่ผิดเพื่อโจมตีผู้อื่นที่ไม่เห็นด้วยกับพวกเขา
  • *การชักใยทางจิตวิทยา: การทำงาน (คนเดียวหรือเป็นกลุ่ม) เพื่อให้บุคคลอื่นสงสัยทัศนะ สำนึกหรือความเข้าใจของเขา บุคคลทีมีอำนาจในชุมชนมีเอกสิทธิ์จำเพาะในการถูกมองว่าน่าเชื่อถือและไม่ควรใช้ข้อนี้โจมตีผู้อื่นที่ไม่เห็นด้วยกับตน

3.3 – การทำลายเนื้อหาและละเมิดโครงการ

จงใจนำเสนอเนื้อหาที่มีอคติ เป็นเท็จ ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสม หรือขัดขวาง ขัดขวาง หรือขัดขวางการสร้าง (และ/หรือการบำรุงรักษา) ของเนื้อหา ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง:

  • การลบเนื้อหาใด ๆ โดยพลการหรือไม่ได้รับการกระตุ้นซ้ำ ๆ โดยไม่มีการพูดคุยหรือให้คำอธิบายที่เหมาะสม
  • ดัดแปลงเนื้อหาอย่างเป็นระบบเพื่อสนับสนุนการตีความข้อเท็จจริงหรือมุมมองที่เฉพาะเจาะจง (รวมถึงวิธีการแสดงแหล่งที่มาที่ไม่สุจริตหรือจงใจบิดเบือนแหล่งที่มาและแก้ไขวิธีการเรียบเรียงเนื้อหาบรรณาธิการให้ถูกต้อง)
  • คำพูดแสดงความเกลียดชังในรูปแบบใด ๆ หรือภาษาที่แบ่งแยกซึ่งมุ่งเป้าไปที่การดูหมิ่น ทำให้อับอาย ยุยงให้เกิดความเกลียดชังต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลโดยพิจารณาจากตัวตนของพวกเขาหรือความเชื่อส่วนบุคคล
  • การใช้สัญลักษณ์ รูปภาพ หมวดหมู่ แท็ก หรือเนื้อหาประเภทอื่น ๆ ที่คุกคามหรือเป็นอันตรายต่อผู้อื่นนอกบริบทของสารานุกรม การใช้ข้อมูล ซึ่งรวมถึงการวางอุบายในเนื้อหาที่ตั้งใจทำให้สุ่มเสี่ยงหรือเหยียดหยาม